เครื่องสูบน้ำดับเพลิงหรือปั๊มน้ำดับเพลิงสำหรับป้องกันอัคคีภัย (Fire Pump) เป็นปั๊มน้ำชนิดหนึ่ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำดับเพลิงแบบสปริงเกอร์ (Fire Sprinkler) หรือ ระบบ Fire Hose เป็นระบบสูบน้ำประกอบติดกับมอเตอร์ไฟฟ้า ชุดคอนโทรลควบคุม
เป็นอุปกรณ์ต้นกำลังหลักที่สำคัญในระบบน้ำดับเพลิง เพราะจะขับเคลื่อนน้ำจากแหล่งน้ำสำรองไปยังตู้สายฉีดน้ำ เพื่อใช้ในการดับเพลิงถือเป็นหัวใจของระบบบดับเพลิงก็ว่าได้ หากระบบปั๊มน้ำดับเพลิงทำงานไม่ได้ ติดขัด ก็ไม่สามารถสูบน้ำเพื่อดับเพลิงไหม้ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบระบบ Fire Pump หรือ ระบบปั๊มน้ำดับเพลิงทุกปี
มารู้จัก Fire Pump เบื้องต้น เพื่อตรวจสอบดูว่า Fire Pump ของคุณเป็นแบบไหน?
ประเภทของ Fire Pump
- แบบแนวนอน (Horizontal)
- Horizontal Split Case (HSC) Pumps มีการออกแบบแยกส่วน โดยสามารถยกฝาครอบเรือนสูบออกจากปั๊มเพื่อดูส่วนประกอบภายในทั้งใบพัด แบริ่ง เพลาปั๊มและอื่น ๆ แบริ่งสองตัวที่ด้านข้างของใบพัดมีประโยชน์ในการต้านแรงสั่นสะเทือนและแรงดันจำนวนมาก ซึ่งมักจะมีสาเหตุจากไหลแบบปั่นป่วนของน้ำในท่อดูด ปั๊มชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับการทำงานของแรงดันที่สูงขึ้น และดังนั้นปั๊มชนิดนี้จึงมีน้ำหนักมากขึ้น
- End Suction – Horizontal: ในปั๊ม End suction แบบเหวี่ยงนี้ โดยทั่วไปน้ำจะเข้าสู่ด้านหนึ่งของใบพัด และอีกด้านที่ปลายดูดน้ำในแนวนอน ท่อดูดและมอเตอร์หรือเครื่องยนต์ทั้งหมดจะอยู่ขนานกัน เพื่อไม่ให้เกิดการหมุนหรือการปรับแนวของปั๊มในห้องควบคุม ทำให้สามารถประหยัดพื้นที่ของโครงท่อในห้องควบคุมได้ ปั๊มรุ่นนี้มักจะถูกเสนอราคาแรกเริ่มที่ต่ำและสามารถทำงานได้ตามอัตราและแรงดันที่กำหนด แต่การบำรุงรักษาปั๊มชนิดนี้นั้นกลับมีขั้นตอนที่ยากกว่าที่คิด
- แบบแนวตั้ง (Vertical Type)
- End Suction – Vertical Inline: ปั๊มชนิดนี้มีการออกแบบท่อที่แตกต่างจากปั๊มทั่วไป โดยมอเตอร์จะถูกติดตั้งอยู่ด้านบนและหน้าแปลนปั๊มจะถูกทำให้อยู่ที่ระดับความสูงเดียวกันกับเส้นตรงกลาง ใบพัดปั๊มจะยึดติดกับเพลามอเตอร์และมีคานยื่นในท่อปั๊ม ปั๊มชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องมีสมดุลไฮดรอลิกสำหรับน้ำที่เข้าสู่บริเวณหอยโข่งของปั๊ม แต่อย่างน้อยยังมีแบริ่งไว้เพื่อสำหรับรองรับการสั่นสะเทือนในการทำงาน ปั๊มนี้สามารถช่วยในการประหยัดพื้นที่และลดต้นทุนแรกเริ่มได้
- Vertical Shaft Turbine Pumps: ปั๊มชนิดนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตรงที่ใบพัดจะถูกจุ่มลงในแหล่งน้ำ และด้วยเหตุนี้มันจึงถูกใช้ในที่ที่มีแหล่งน้ำอยู่ด้านล่างของใบพัด เพลาและใบพัดสามารถปรับให้เหมาะสมได้ เพื่อจะได้สามารถยกออกจากโบล์วของเรือนสูบก่อนการทำงาน ตัวปล่อยความดันและท่อปั๊มสามารถหาซื้อได้เกือบทุกแบบ และยังสามารถเพิ่มใบพัดหลายอันเพื่อเพิ่มแรงดันได้ด้วย
ประเภทของระบบต้นกำลัง ของ Fire Pump มี 2 ประเภท
- แบบไฟฟ้า Electric สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า จะต้องใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟที่เชื่อถือได้ เช่นจ่ายโดยตรงจากหม้อแปลงไฟฟ้า หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- แบบเครื่องยนต์ดีเซล Engine สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะสามารถแยกได้ 2 แบบ
- ระบบ Heat Exchanger Cooled คือ ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ โดยใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
- ระบบ Radiator Cooled คือ ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ โดยใช้รังผึ้งระบายความร้อนด้วยพัดลมจากเครื่องยนต์
ส่วนประกอบของ Fire Pump
ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump system) ประกอบด้วย
1. เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump)
2. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump)
3. ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump Controller)
4. ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump Controller)
5. Pressure Relief Valve