ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ FIRE ALARM SYSTEM คือ ระบบที่มีไว้สำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ โดยจะใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่างๆ ที่ติดตั้งตามความเหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งเมื่ออุปกรณ์ตรวจจับสิ่งผิดปกติได้ ก็จะทำการส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม และระบบจะทำการแจ้งเหตุผ่านในรูปของเสียงหรือแสง ถ้าเรามีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่ดี จะทำให้เรารู้ถึงจุดเกิดเหตุและแจ้งเหตุรวดเร็วสามารถอพยพผู้ทีอยู่อาศัยออกจากพื้นที่ที่เกิดเหตุได้อย่างปลอดภัย ก่อนที่เพลิงจะลุกไหม้มากขึ้นจนไม่สามารถอพยพได้

ส่วนประกอบของระบบแจ้งเตือนเพลิงไหม้

  • ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) ตู้ควบคุม หรือแผงควบคุม คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับแจ้งเหตุการเกิดเพลิงไหม้จากอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ และ แสดงการเกิดเพลิงไหม้พร้อมส่งสัญญาณแจ้งเหตุการเกิดเพลิงไหม้ ให้ผู้ควบคุมหรือผู้ที่อยู่ในอาคารทราบ รวมทั้งยังทำงานร่วมกับระบบอื่นของอาคารอีก เช่น ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมี ระบบลิฟต์ ระบบปรับอากาศ ระบบอัดอากาศ และ ระบบเปิดหรือปิดประตูอัตโนมัติ เป็นต้น
  • ชุดจ่ายไฟเข้าระบบและไฟสำรอง  แหล่งจ่ายไฟ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงานด้วยไฟฟ้าจึงต้องมีแหล่งจ่ายไฟให้ ในการนำระบบไปใช้งานต้องออกแบบ และ ติดตั้งให้ระบบสามารถทำงานได้ตลอดเวลา จึงมีแหล่งจ่ายไฟอยู่สองส่วนคือ แหล่งจ่ายไฟหลัก และ แหล่งจ่ายไฟสำรอง ปกติแหล่งจ่ายไฟหลักเป็นไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ เมื่อแหล่งจ่ายไฟหลักขัดข้องแหล่งจ่ายไฟสำรอง(แบตเตอรี่) จะจ่ายไฟแทน
  • อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ  อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แจ้งให้ตู้ควบคุมทราบการเกิดเหตุ ต่อจากนั้นระบบจะทำงานแจ้งเหตุโดยอัตโนมัติ อุปกรณ์เริ่มสัญญาณแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดที่เริ่มสัญญาณด้วยมือ และ ชนิดอัตโนมัติ
  • อุปกรณ์ส่งสัญญาณ   อุปกรณ์ส่งสัญญาณ หรืออุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้และอุปกรณ์ตรวจจับสามารถตรวจจับได้แล้ว อุปกรณ์แจ้งเหตุจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนภัยให้กับผู้อาศัยในอาคารทราบเหตุอย่างทั่วถึง อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง และ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง
    • อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง   เช่น กระดิ่ง หวูด ไซเรน และลำโพง เป็นต้น
    • อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง  เช่นสโตรบ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสงนี้จะใช้กับสถานที่ที่มีเสียงดังมาก หรือ โรงพยาบาลที่ไม่สามารถแจ้งเหตุด้วยเสียงได้
  • อุปกรณ์ประกอบ  อุปกรณ์ประกอบ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเชื่อมโยงกับระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกัน และ ดับเพลิงโดยจะถ่ายทอดสัญญาณระหว่างระบบเตือนอัคคีภัยกับระบบอื่น เช่น
    • ส่งสัญญาณ กระตุ้นการทำงานของระบบบังคับลิฟท์ลงชั้นล่าง การปิดพัดลมในระบบปรับอากาศ เปิดพัดลมในระบบระบายอากาศ การควบคุมเปิดประตูทางออก เปิดประตูหนีไฟ ปิดประตูกันควันไฟ ควบคุมระบบกระจายเสียง และการประกาศแจ้งข่าว เปิดระบบดับเพลิง เป็นต้น
    • รับสัญญาณ ของระบบอื่นมากระตุ้นการทำงานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เช่น จากระบบพ่นนํ้าปั๊มดับเพลิง ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมีชนิดอัตโนมัติ เป็นต้น

  1. ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel)
    1.1 ตรวจเช็คการเข้าสายต่างๆ ที่จุดปลายทาง (Terminal) บนบอร์ด (Board) และการ์ด (Cards)
    1.2 ตรวจเช็คแหล่งจ่ายไฟ โดยดูขั้วต่อสาย กับวัดกระแสไฟเข้า -ออกปกติหรือไม่
    1.3 ตรวจเช็คแบตเตอรี่ โดยดูขั้วต่อว่าเป็นสนิมหรือไม่ กับตรวจสอบวันหมดอายุ และวัดกระแสไฟ
    เข้า – ออกปกติหรือไม่
    1.4 ตรวจเช็คไฟแสดงสถานะ (LED Indicator) ต่างๆ ทุกดวง
    1.5 ตรวจเช็คสวิทซ์ (Control Switch) ควบคุมระบบต่างๆ
    1.6 ตรวจสอบการแสดงผลของหนา จอ LCD หรือ LED ที่แผงควบคุม
    ,1.7 ตรวจเช็คระบบ Audio Voice Control System (Evacuation) ถ้ามี
    1.8 ตรวจเช็คระบบ Emergency Telephone (Firefighters) ถ้ามี
    1.9 ทำความสะอาด โดยการปัดฝุ่น และเช็ดทำความสะอาดตู้


2. อุปกรณ์โมดูลระบุตำแหน่ง (Addressable Modules) ต่างๆ

2.1 ตรวจเช็คการเขา สายต่างๆ ที่จุดปลายทาง (Terminal) ที่โมดูลระบุตำแหน่งต่างๆ
2.2 ตรวจสอบดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ทุกดวงของโมดูลระบุตำแหน่งต่างๆ
2.3 ทำความสะอาด โดยการปัดฝุ่น และเช็ดทำความสะอาดโมดูลระบุตำแหน่งต่างๆ


3.ตู้แผนผังแสดงผล (Graphic Annunciator)
3.1 ตรวจเช็คการเข้า สายต่างๆ บนแผงวงจรที่ไดร์เวอร์โมดูลการ์ด
(Driver Module Cards) และจุดเชื่อมต่อดวงไฟ (LED Lamp) ทั้งหมดบนแผ่นแผงผังแสดง
แหน่งเกิดเหตุเพลิงไหม
3.2 ตรวจสอบดวงไฟแจ้งเตือน (Alarm LED) ทุกดวงที่แสดงพื้นที่เกิดเหตุเพลิงไหม้บนตู้
3.3 ตรวจสอบเสียงแจ้งเตือน (Buzzer) การเกิดเหตุเพลิงไหม้ของตูแสดงผล
3.4 ตรวจสอบสวิทซ์ปิดเสียงแจ้งเตือน (Acknowledge) การเกิดเหตุเพลิงไหม้ของตู้
แสดงผล
3.5 ตรวจสอบสวิทซ์ทดสอบดวงไฟแสดงผลทั้งหมด (Test All Lamp) บนแผงผังแสดงผล
3.6 ทำความสะอาด โดยการปัดฝุ่น และเช็ดทำความสะอาดตู้แผนผังแสดงผล


4. ตรวจสอบปัญหา (Trouble) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ (กรณีเกิดปัญหาฯ)
4.1 วิเคราะห์และตรวจเช็คปัญหา (Trouble) ที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากสาเหตุใด
4.2 สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น และดำเนินการแก้ไขเบื้องต้น แต่หากเป็นปัญหาที่เกิดจากสายไฟฟ้า เช่น
สายขาด กับสายหลุดจากจุดเชื่อมต่อ กับความผิดพลาดที่กราวนด์ (Ground Fault)
หรือพบอุปกรณ์เสียหาย จำเป็นต้องตรวจเช็ค และแก้ไข หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ จะมีการแจ้งให้
ผู้ว่าจ้างทราบค่าใช้จ่ายในส่วนที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมก่อนในรายงาน เพื่อให้ทางผู้ว่าจ้าง
อนุมัติสรุปค่าแก้ไขตามรายงานก่อน